วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

๕ ห้องชีวิต(เนรมิตรนิสัย)

๕ ห้องชีวิต(เนรมิตรนิสัย)

 
                        ห้องน้ำ

ห้องน้ำ คือ ห้องมหาพิจารณา
       ห้องน้ำเป็นห้องมหาพิจารณา คือ ฝึกคิดให้ตรงตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต เพราะห้องนอนหรือห้องอื่น ๆ เช่น ห้องครัว ห้องทำงาน เวลาจะใช้ สามารถใช้พร้อม ๆ กันได้หลายคน

หน้าที่หลักของห้องน้ำมีอะไรบ้าง

       1) เป็นที่พิจารณาความไม่งามของร่างกาย
       2) เป็นที่พิจารณาความเสื่อมโทรมของร่างกายที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
       3) เป็นที่พิจารณาความเป็นรังแห่งโรคของร่างกาย
       ห้องน้ำเป็นห้องพิจารณาความมีโรคภัยไข้เจ็บของเรา ที่สำคัญที่สุด ห้องน้ำเป็นห้องสำหรับรักษาสุขภาพอย่างดี

                   ห้องแต่งตัว

ห้องแต่งตัว (ห้องมหาสติ)

คำนิยามที่แท้จริง ห้องแต่งตัว คือ ห้องพัฒนานิสัยตัดใจและใฝ่บุญ
 
หลักธรรมประจำห้องแต่งตัว สัมมาสติ
 
หน้าที่หลักของห้องแต่งตัว
            1) ใช้ในการปลูกฝังสัมมาสติ คือ ฝึกประคองรักษาใจให้ผ่องใสเป็นปกติ ไม่ปล่อยใจไปตามอำนาจกิเลส
            2) ฝึกให้มีความระมัดระวังตนในทุก ๆ เรื่อง ไม่ประมาทเผอเรอ มีความตื่นตัวตลอดเวลา
            3) ฝึกตัดใจไม่คิดหมกมุ่นในกาม ตามแฟชั่นหรือกระแสสังคม
           4) ฝึกใช้เหตุผลตักเตือนใจของตนให้เป็นสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ ไม่ให้เกิดความลำเอียง และสูญเสียศีลธรรมประจำใจ
  
ความรู้ประจำห้องแต่งตัว
           1) แต่งตัวเพื่อปกปิดอวัยวะที่ก่อให้เกิดความละอายและเป็นที่อุจาดตา
           2) แต่งตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากความร้อนและความหนาว สัตว์ และแมลง
           3) เลือกแต่งตัวให้เหมาะสมทุกสถานที่ ไม่ชวนให้โจรผู้ร้ายปล้นจี้หรือฉุดคร่าไปทำร้ายทางเพศ
           4) ใช้เครื่องแต่งตัวให้เหมาะสมกับฐานะ ไม่ตกเป็นทาสเสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวตามกระแสสังคม
           5) ไม่สนับสนุนให้เด็กหมกมุ่นในกามด้วยการแต่งหน้าก่อนวัยอันควร อันนำไปสู่ปัญหามากมายในภายหลัง

ประโยชน์จากการใช้ห้องแต่งตัวอย่างถูกต้อง
             1) ทางใจ
               1.1) ตัดใจไม่ให้หลงในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
               1.2) ตัดใจไม่ให้มัวเมาในความเป็นหนุ่มเป็นสาว ในความไม่มีโรค ในความมีอายุยืน
               1.3) ตัดใจไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่สุรุ่ยสุร่าย
               1.4) ตัดใจสร้างบุญกุศลเป็นประจำ เช่น การทำทาน การรักษาศีล การเจริญ ภาวนา เป็นต้น
               1.5)ไม่ตกเป็นทาสอบายมุข
             2) ทางกาย
               2.1) รู้จักการให้เกียรติเคารพสถานที่
               2.2) รู้จักมารยาทในการเข้าสังคม
               2.3) รู้จักการวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามภาวะและฐานะที่ตนเป็น
               2.4) มีความตื่นตัวและกระตือรือร้นในการคิดดี พูดดี และทำดีอยู่เสมอ


                         ห้องอาหาร


ห้องอาหาร (ห้องมหาประมาณ)
หลักธรรมประจำห้องอาหาร สัมมาวาจา และสัมมากัมมันตะ

หน้าที่หลักของห้องอาหาร
        1) เป็นที่ประชุมสมาชิกทุกคนในบ้านอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาทุกวัน
          2) ใช้ปลูกฝังสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะให้แก่สมาชิกทุกคนในบ้าน
 

ความรู้ที่ต้องมีเกี่ยวกับห้องอาหาร
                1) ห้องอาหาร คือ ห้องที่สมาชิกทั้งบ้านใช้รับประทานอาหารร่วมกัน จึงต้องรักษาความสะอาดให้ดี ไม่ควรเก็บอาหารไว้ในห้องนี้          
 2) ห้องครัว คือ ห้องสำหรับปรุงอาหารและเก็บอาหารทุกประเภท ต้องรักษาความสะอาดและจัดให้เป็นระเบียบ
 3) ห้องรับแขก คือ ห้องที่ใช้ต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมเยียนหรือมีธุระสำคัญ จึงเสมือน เป็นหน้าตาของบ้าน ไม่ควรปล่อยให้รกรุงรัง
             4) บ้านใดที่ใช้ห้องอาหารรวมกับห้องรับแขก ควรใช้เครื่องเรือนแบ่งเขต 2 ห้องให้ชัดเจน
             5) ควรจัดชุดเก้าอี้รับแขกไว้ตรงประตูทางเข้า และจัดโต๊ะรับประทานอาหารไว้ใกล้ ห้องครัว อีกทั้งควรตกแต่งห้องให้มีบรรยากาศเย็นตา
                6) ควรจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ของห้องครัว ห้องอาหาร ห้องรับแขก ให้พร้อมและสะอาด
                7) ควรจัดเตรียมวัตถุดิบและเครื่องปรุงให้ครบตามความจำเป็น และเพียงพอกับคนในบ้าน
                8) ควรฝึกอบรมสมาชิกในบ้านให้รู้จักช่วยกันทำครัวตั้งแต่เยาว์วัยเพื่อฝึกความสามัคคี
                9) ควรฝึกสมาชิกในบ้านให้รู้จักวิธีการถนอมอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

 ประโยชน์จากการใช้ห้องอาหารอย่างถูกต้อง
       1) ทางใจ
             1.1) รู้จักประมาณในการรับประทานอาหาร คือ ระลึกอยู่ว่าเรารับประทานอาหารเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ จะได้นำเรี่ยวแรงไปทำความดี
               1.2) รู้จักประมาณในการใช้ทรัพย์ คือ รู้จักการกำหนดรายจ่ายให้น้อยกว่ารายได้ จะได้มีทรัพย์เหลือเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น และใช้บริจาคสร้างบุญกุศลอันเป็นหนทางไปสู่สุคติในสัมปรายภพ
               1.3) รู้จักประมาณในวาจา คือ การใช้คำพูดที่นุ่มนวล มีเหตุผล มีประโยชน์ เหมาะแก่กาลเทศะในสถานการณ์ต่าง ๆ
       2) ทางกาย
             2.1) ใช้ห้องอาหารสำหรับประกอบอาหาร
                2.2) ใช้เป็นที่ประชุมสมาชิกพร้อมหน้าพร้อมตา
                2.3) ใช้ห้องอาหารเป็นที่รับประทานอาหาร
                2.4) ใช้ห้องอาหารเป็นที่เก็บอาหาร
                2.5) ใช้ห้องอาหารเป็นที่ต้อนรับแขก 

                         ห้องนอน



ห้องนอน คือ ห้องมหาสิริมงคล
          ห้องนอน คือ ห้องสำหรับพัฒนานิสัยรักบุญกลัวบาป

หน้าที่หลักของห้องนอนมีอะไรบ้าง
1) ห้องนอนเป็นห้องสำหรับการปลูกฝังสัมมาทิฐิ
       การสอนลูกหลานให้รู้จัก ดี ชั่ว บุญ บาป อย่างชนิดฝังใจ จะอยู่ที่ห้องนอนนี้ เพราะโดยทั่วไปช่วงก่อนนอนเป็นช่วงที่อารมณ์ดีที่สุด การสอนลูกหลานให้มีความเคารพในพระรัตนตรัย ต้องฝึกจากห้องนอน โดยทั้งพ่อทั้งแม่กราบพระพุทธรูปด้วยกัน รำลึกถึงคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกัน
ศัตรูตัวฉกาจของห้องนอนคืออะไร
      ห้องนอน คือ ห้องมหาสิริมงคล มีไว้ใช้ปลูกฝังศีลธรรม ทบทวนบัญชีบุญ-บาป ให้พรลูกหลานก่อนนอน กราบพ่อกราบแม่ก่อนนอน นั่งสมาธิก่อนนอน ทำให้ชีวิตเกิดสิริมงคล
 

                       ห้องทำงาน
ห้องทำงาน (ห้องมหาสมบัติ)
 
คำนิยามที่แท้จริง ห้องทำงาน คือ ห้องพัฒนานิสัยใฝ่ความสำเร็จ

หลักธรรมประจำห้องทำงาน สัมมาอาชีวะและสัมมาวายามะ

หน้าที่หลักของห้องทำงาน
            1) ใช้ในการปลูกฝังสัมมาอาชีวะ ไม่หารายได้จากการทำผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย ผิดจารีตประเพณี
           2) ใช้ปลูกฝังวินัยประจำห้องทำงาน 6 ประการ
                 2.1) มีสัมมาวาจา ใช้คำพูดได้เหมาะสม
                 2.2) มีความเคารพในบุคคล สถานที่ เหตุการณ์
                 2.3) มีมารยาทดี เหมาะแก่บุคคลและกาลเทศะ
                 2.4) มีความรับผิดชอบทั้งส่วนตัวและส่วนรวม
                 2.5) เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยในการทำงาน
                 2.6) เอาใจใส่ดูแลอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องทำงาน
ความรู้เกี่ยวกับห้องทำงาน

         1) เลือกประกอบสัมมาอาชีพที่ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ผิดกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับอบายมุข ไม่ก่อให้เกิดมิจฉาทิฐิ
         2) ทำเลที่ประกอบอาชีพต้องสอดคล้องกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อความเหมาะสม ในการทำงาน และเพื่อความสำเร็จในอาชีพ
         3) ห้องทำงานต้องเหมาะสมกับจำนวนบุคลากร และชนิดของงาน
         4) การตกแต่งต้องสะดวกในการทำงาน สะอาด ถูกสุขอนามัย มีความปลอดภัย ไม่มีภาพลามกอนาจาร
         5) อุปกรณ์เครื่องใช้ในแต่ละห้องต้องเพียงพอ จัดเก็บเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว
         6) ใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี และหมั่นดูแลรักษา จะได้มีไว้ใช้งานได้นาน ๆ หากเกิด ชำรุดเสียหายต้องรีบซ่อมแซม
         7) มีกุศโลบายในการสนับสนุนคนดี แก้ไขคนโง่ คัดคนพาลออก
ประโยชน์จากการใช้ห้องทำงานอย่างถูกต้อง

          1) ทางใจ
                         1.1) สามารถใช้สติปัญญาในการประกอบอาชีพได้ประสบผลสำเร็จด้วยดีตาม เป้าหมาย
                         1.2) มีโอกาสเพิ่มบุญกุศลให้ตนเองเป็นนิจ
                         1.3) แสวงหาความรู้ เพิ่มพูนปัญญาทางโลกและทางธรรม จะได้ไม่ต้องก่อเวร ก่อภัยกับใครทั้งสิ้น
          2) ทางกาย
                         2.1) ใช้เพิ่มปัญญาในการประกอบสัมมาอาชีพ
                         2.2) ใช้พัฒนาความชำนาญในการทำงาน
                         2.3) ใช้ฝึกนิสัยมีวิริยอุตสาหะในการทำงาน
                         2.4) ใช้เพิ่มพูนทรัพย์ เป็นทางมาแห่งมหาสมบัติ

 


 

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ทราบว่า ชื่อครูัสันติ มีไม้หันอากาศ 2 ตัว คือ ตั้งใจสะกดคำแบบนี้หรือเปล่าครับ แต่เนื้อหา 5 ห้องชีวิต ดีมากครับ

    ตอบลบ