วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

แบบประเมิน โครงการ/กิจกรรม(PDCA)

แบบประเมินโครงการ

สำหรับผู้ที่สนใจ อยากจะประเมินโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการ  ซึ่งใช้หลักการและทฤษฎีของ วงจรคุรภาพ(PDCA) สามารถศึกษารายละเอียดและดาวน์โหลดตัวอย่างแบบประเมินโครงการได้ที่....










PDCA คืออะไร
P:Plan=วางแผน
D:DO=ปฏิบัติตามแผน
C:Check=ตรวจสอบ/ประเมินผลและนำผลประเมินมาวิเคราะห์
A : Action = ปรับปรุงดำเนินการให้เหมาะสมตามผลการประเมิน

1.   การวางแผน (Plan: P)  การวางแผนเป็นจุดเริ่มต้นของงานและเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การทำงานในส่วนอื่น เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล การวางแผนในวงจรเดมมิ่ง  เป็นการหาองค์ประกอบของปัญหา โดยวิธีการระดมความคิด การหาสาเหตุของปัญหา การหาวิธีการแก้ปัญหา การจัดทำตารางการปฏิบัติงาน การกำหนดวิธีดาเนินการ การกำหนดวิธีการตรวจสอบ และประเมินผล   มีการดำเนินการดังนี้
1.1   ตระหนักและกำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไข หรือปรับปรุงให้ดี  เพื่อที่จะร่วมกันทำการศึกษาและวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขต่อไป
1.2   เก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์และตรวจสอบการดำเนินงาน  หรือหาสาเหตุ ของปัญหา เพื่อใช้ในการปรับปรุง หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งควรจะวางแผนและดำเนินการเก็บข้อมูลให้เป็นระบบระเบียบ  เข้าใจง่าย  และสะดวกต่อการใช้งาน  
 1.3    อธิบายปัญหา   วิเคราะห์ปัญหา  เพื่อใช้กำหนดสาเหตุ    ของความบกพร่อง   ตลอดจนแสดงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น   เช่น แผนภูมิก้างปลา แผนภูมิพาเรโต และแผนภูมิการควบคุม เป็นต้น เพื่อให้สมาชิกทุกคน ในทีมงานคุณภาพเกิดความเข้าใจในสาเหตุและปัญหาอย่างชัดเจน แล้วร่วมกันระดมความคิด (Brainstorm)  ในการแก้ปัญหา โดยสร้างทางเลือกต่างๆ ที่เป็นไปได้ ในการตัดสินใจแก้ปัญหา เพื่อมาทำการวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกที่เหมาะสมที่สุดมาดำเนินงาน
1.4    เลือกวิธีการแก้ไขปัญหา หรือปรับปรุงการดำเนินงาน โดยร่วมกันวิเคราะห์ และวิจารณ์ทางเลือกต่างๆ ผ่านการระดมความคิด    เพื่อตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดในการดำเนินงาน   ให้สามารถบรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมี
2.   การปฏิบัติตามแผน  (Do: D)   เป็นการลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ในตาราง  ตลอดจนการจัดการทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานตามแผนนั้นๆ ในขั้นตอนนี้ ขณะที่ลงมือปฏิบัติจะมีการตรวจสอบไปด้วย  หากไม่เป็นไปตามแผนอาจจะต้องมีการ ปรับแผนใหม่และเมื่อแผนนั้นใช้งานได้ก็นาไปใช้เป็นแผนและถือปฏิบัติต่อไป
3.   การตรวจสอบ (Check: C)  การตรวจสอบดูว่าเมื่อปฏิบัติงานตามแผน หรือการแก้ปัญหางานตามแผนแล้ว ผลลัพธ์เป็นอย่างไร สภาพปัญหาได้รับการแก้ไขตรงตามเป้าหมายที่กลุ่มตั้งใจหรือไม่   การไม่ประสบผลสำเร็จอาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการ 
 4.   การดำเนินการให้เหมาะสม   (Action : A ขั้นตอนนี้เป็นการนาเอาผลจากขั้นการตรวจสอบ (C) มาดำเนินการให้เหมาะสมต่อไป




ประโยชน์ของ

1.1  ทำให้ผู้ปฏิบัติมีการวางแผน การวางแผนที่ดีช่วยป้องกันปัญหาที่ไม่ควรเกิด  ช่วยลดความสับสนในการทำงาน  ลดการใช้ทรัพยากรมากหรือน้อยเกินความพอดีลดความสูญเสียในรูปแบบต่างๆ
1.2 ทำให้การปฏิบัติงานมีความรัดกุมขึ้น และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วก่อนจะลุกลาม
1.3 ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วไม่เกิดซ้ำหรือลดความรุนแรงของปัญหา ถือเป็นการนำความผิดพลาดมาใช้ให้เกิดประโยชน์
PDCA   เพื่อการปรับปรุง   คือ   ไม่ต้องรอให้เกิดปัญหา  แต่เราต้องเสาะแสวงหาสิ่งต่างๆ  หรือวิธีการที่ดีกว่าเดิมอยู่เสมอ  เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น